เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 66. อัชฌัตติกทุกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ จิตเป็นปัจจัยแก่จิตโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ
สภาวธรรมที่เป็นภายนอก เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอก
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ
อาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ
เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงทําให้ครบทั้ง 3 วาระ
พึงเพิ่มคำว่า จิตและสัมปยุตตขันธ์ด้วย)
สภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอก เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
ภายในโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ

ปุเรชาตปัจจัย
[345] สภาวธรรมที่เป็นภายใน เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายใน
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กายโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น
จิตจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายใน เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกโดย
ปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กายโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดี ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ
ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :198 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 66. อัชฌัตติกทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นภายในเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็น
ภายนอกโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กายโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น จิตและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์
ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์โดยปุเรชาตปัจจัย (3)
[346] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอก
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ หทัย
วัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นภายนอกโดย
ปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายนอกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในโดยปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภการเห็นแจ้งรูปเป็นต้นนั้น
จิตจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นภายนอกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็น
ภายนอกโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภรูปเป็นต้นนั้น จิตและ
สัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :199 }